เรียบเรียงโดย โดย แพทย์จีนอรสิริ วัฒนธรรม (พจ.1731)
โรคนี้มีอาการอย่างไรบ้าง?
- ปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อมือบริเวณโคนนิ้วโป้ง
- ขยับข้อมือ หรือ นิ้วโป้ง ลำบาก
- กรณีเป็นมาก อาจมีอาการปวด ร้าวไปข้อศอก และมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
โรคนี้เกิดจากอะไร?
- เกิดจากการใช้มือทำงานบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ เช่น คุณแม่ที่ต้องอุ้มลูกต่อเนื่องเป็นเวลานาน กลุ่มคนทำงานคอมพิวเตอร์ คนที่ชอบเล่นเกมส์ หรือ โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน นักกีฬา ที่ต้องใช้ข้อมือเป็นหลัก นักกีฬาแบดมินตัน ปิงปอง เป็นต้น
- ทำให้เกิดการเสียดสีของเอ็นบริเวณนิ้วโป้งและปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ จนเกิดเป็นภาวะอักเสบเรื้อรังและเกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น ช่องวางในปลอกหุ้มเส้นเอ็นตีบแคบลง ทำให้ไม่สามารถงอ หรือ เหยียดนิ้วได้ เพิ่มการเสียดสีได้ง่ายขึ้น
ในมุมมองการแพทย์แผนจีน มองโรคนี้ยังไงบ้าง?
- แผนจีนจะเรียกโรคนี้ว่า 伤筋 แปลว่าการบาดเจ็บของเส้นเอ็น
- เมื่อเราให้งานข้อมือหนักๆ จะทำให้เกิดการบาดเจ็บ ร่วมกับได้รับความเย็นและความชื้นเข้ามาสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดการเกาะกลุ่ม อุดกั้นเส้นลมปราณและเลือด ทำให้เกิดการติดขัด ทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก ไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นได้ เกิดเป็นอาการปวดขึ้นมา
แพทย์แผนจีน รักษาโรคนี้ยังไง?
- ในทางการแพทย์แผนจีนมีหลักการรักษาคือ เพิ่มการไหลเวียนลมปราณกับเลือด คล้านเส้นเอ็น ทะลวงเส้นลมปราณค่ะ
- โดยการรักษาหลักๆ จะใช้เป็นการนวดทุยหนา หรือการ ฝังเข็ม เป็นหลักค่ะ